วันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2557

มาเกน ดาวิด (Magen David)

                            

             มาเกน ดาวิด(Magen David) หรือ ดาวแห่งเดวิด

                                          มาเกน ดาวิด (Magen David) มาจากภาษาฮีบรู  แปลว่า
โล่แห่งกษัตริย์เดวิด  เป็นตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์ของกษัตริย์เดวิดและกษัตริย์โซโลมอน  มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมซ้อนกันสองอันแบบตั้งขึ้นและแบบกลับหัว มองดูแล้วเป็นรูปดาวหกแฉก หรือเรียกว่า  “ดาวแห่งเดวิด” เรามักจะพบสัญลักษณ์นี้ใช้กันแพร่หลายในศาสนายูดาห์และชาวยิว  ธงชาติอิสราเอล และในพีธีกรรมทางศาสนา  อันอาจสืบเนื่องมาจากความเชื่อและหลักในการดำเนินชีวิตของชาวยิวที่สืบทอดกันมาหลายพันปียึดถือคัมภีร์โตราห์เป็นธรรมนูญในชีวิต จะใช้คำสอนในศาสนามาเป็นเครื่องดำเนินชีวิตและตัดสินปัญหาต่างๆ ดังนั้น ศาสนาของชาวยิวจึงเป็นทั้งศาสนาและเป็นวิถีชีวิตประกอบกับชาวยิวเชื่อว่าพระเจ้าทรงประทานบัญญัติ 10 ประการให้ชาวฮีบรูหรือชาวยิวนับถือ ในบทบัญญัติ 10 ประการ มีข้อกำหนดห้ามทำรูปเคารพ พระเจ้ามีพระองค์เดียวอยู่ที่จิตไม่ให้บูชาเทวรูป  ด้วยเหตุนี้ชาวยิวจึงไม่มีสัญลักษณ์รูปเคารพใดๆที่แสดงความเชื่อ และความเป็นตัวตนของชนชาวยิวที่ชัดเจน มีอยู่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนยึดถือเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงพระเจ้า และผนวกกับกับความเชื่อที่ว่าตระกูลของอับบราฮัมสามารถสื่อสารและเห็นพระองค์ เชื่อในพันธสัญญาเดิมที่พระองค์จะมอบให้   และยกย่องในความสามารถของกษัตริย์เดวิดและกษัตริย์โซโลมอนซึ่งเป็นเชื้อสายของอับบราฮัม  กษตริย์เดวิดซึ่งเป็นกษัตริย์พระองค์ที่สองของราชอาณาจักรอิสราเอล กล่าวกันว่าเป็นมหาราชปฐมกษัตริย์ที่เป็นผู้รวบรวมวงษ์วานอิสราเอล ทรงมีคุณธรรมและเป็นนักการทหารที่มีความสามารถด้านดนตรี กวี  เป็นผู้ที่ชาวยิวให้การเคารพนับถือ ด้วยเหตุนี้ชาวยิวจึงเลือกที่จะใช้สัญลักษณ์ดาวหกแฉกในการสื่อถึงพระองค์ และใช้เป็นสัญลักษณ์ในการทำพิธีทางศาสนาซึ่งสัญลักษณ์รูปดาวหกแฉกนี้ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ทางความเชื่อที่เก่าแก่หลายพันปี    นักประวัติศาสตร์ย้งเชื่อว่าสัญลักษณ์นี้ได้มีการใช้มาแต่ครั้งอดีตกาล โดยเฉพาะอารยธรรมโบราณในทวีปตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ ชาวโบราณมีความเชื่อว่าลวดลายดาวหกแฉกนี้ เป็นสัญลักษณ์แห่งอาคมและมีอำนาจพิเศษในการขับไล่ภูตผีปีศาจและสิ่งชั่วร้าย  ในยุโรปจะเรียกสัญญลักษณ์แห่งความมีโชค  ผู้ใดก็ตามที่มีสัญลักษณ์นี้ จะได้รับคำอวยพรจากพระเจ้า เขาจะประสบโชคดีทุกๆ เมื่อ และเขาผู้นั้นจะเข้าถึง ปัญญาอันยิ่งใหญ่ เป็นยอดคนเหนือคน เป็นผู้ตามรอย แห่งกษัตริย์เดวิดและโซโลมอน อีกทั้งดาวหกแฉก ที่เรียกว่าสตาร์ออฟเดวิด  บ้างคนเชื่อว่าสัญลักษณ์นี้ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อติดต่อกับมิติอื่น เป็นเครื่องมือสื่อสารไปยังจักรวาลในทุกยุค ทุกสมัยและเชื่อว่าเคยมีคนใช้สัญลักษณ์ของจักรวาลนี้ในการติดต่อสื่อสารกับจักรวาลได้ แต่ความรู้ในการใช้ประตูเวลาหรือมิติเวลาได้ขาดหายไป คงเหลือแต่สัญลักษณ์ของจักรวาลเอาไว้เท่านั้น
  ในทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานก็มีรูปสัญญลักษณ์นี้ เป็นลักษณะการจำลองจักรวาล หรือที่รู้จักกันในนาม มันดาลา” ถือว่าเป็นแบบพลังในทางระบบสัญญลักษณ์ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก แต่ถึงอย่างไรก็ตามสำหรับคนที่ชอบอ่านเรื่องราวทางประวัติศาสตร์คงรู้สึกคุ้นเคยกับ ดาวแห่งเดวิดในยุคนาซีมากกว่า ย้อนอดีตมาเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ปีค.ศ.1939 นาซีประกาศบังคับให้ชาวยิวในโปแลนด์ทุกคนที่อายุ 10 ปีขึ้นไป สวมปลอกแขนที่มีสัญลักษณ์ดาวแห่งเดวิดสีน้ำเงินไว้ที่แขนขวา  สองปีต่อมาสมัยสงครามโลกครั้งสองชาวยิวที่อยู่ในเขตควบคุมของนาซีเยอรมันโดนบังคับให้มี
       
ดาวแห่งเดวิดสีเหลือง บนเสื้อผ้าเพื่อเป็นการแบ่งแยกชาวยิวออกจากผู้อื่น ทำให้คนจำได้ง่ายขึ้น แต่สัญลักษณ์ที่ใช้เปลี่ยนเป็นดาวแห่งเดวิดสีเหลือง ที่มีคำว่า “Jude” ซึ่งแปลว่ายิวในภาษาเยอรมันอยู่ภายใน และให้ติดไว้ที่หน้าอกด้านซ้าย หลังจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวครั้งใหญ่ ชาวยิว  จำเป็นต้องสร้างสัญลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองเทียบเท่ากับไม้กางเขน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์ พวกเขาจึงได้เลือกรูปดาวหกแฉกเพื่อมาเป็นสัญลักษณ์ของชาวยิวเมื่อชาวยิวเริ่มอพยพกลับมายังดินแดนที่ได้สถาปนาเป็นรัฐอิสราเอลในเวลาต่อมา




ดาวหกแฉกและธงไซออนนิสต์ ได้ใช้เป็นธงชาติอิสราเอล  ถูกออกแบบขึ้นครั้งแรกเพื่อใช้ในขบวนการไซออนนิสต์เมื่อ ค.ศ. 1891 แบบของธงนี้มีพื้นฐานมาจากผ้าคลุมศีรษะของชาวยิวเพื่อใช้ในการทำพิธีทางศาสนา ซึ่งเป็นผ้าสีขาวมีขอบฟ้า มีชื่อเรียกว่า "ทาลลิต" (Tallit)
ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีขาว มีขนาดความกว้าง ส่วน ยาว 11 ส่วนตรงกลางธงคือ
รูปดาวแห่งเดวิด เป็นรูปหกแฉกสีฟ้า และได้พัฒนามาเป็นธงชาติอิสราเอล เริ่มใช้อย่างเป็น
ทางการ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ.1948  หลังการประกาศสถาปนาประเทศได้ เดือน  และยังใช้เป็นธงชาติอิสราเอลในปัจจุบัน
       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น